ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

สร้างบ้าน..
ไม่ต้องการให้ผู้รับเหมาเอาเปรียบ
1

ลุงทอม

สำหรับท่านที่กำลังจะสร้างบ้าน ก่อนที่จะลงมือก่อสร้าง ท่านจะต้องผ่าน ขั้นตอนใน การคัดเลือกผู้รับเหมา ซึ่งจะเป็นผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้านก็ตามที แต่คำถามที่น่าสนใจคือ

ว่าจ้างไปแล้ว 
ทำอย่างไรเจ้าของบ้านจึงจะไม่เสียเปรียบ ไม่มีปัญหาที่อาจจะตามมา

ก่อนที่จะเข้าถึงประเด็นหลักของบทความนี้ คือ สร้างบ้าน..ไม่ต้องการให้ผู้รับเหมาเอาเปรียบ

จะขอพูดถึง เจ้าของบ้านและผู้รับเหมา ในส่วนที่เกี่ยวกับ ราคาค่าก่อสร้างบ้าน สักนิดครับ

กรณีที่ 1 . ราคาค่าก่อสร้างบ้าน สูงเกินไป ผู้รับเหมาเอากำไรมาก

ก็เพราะว่า มีเจ้าของบ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สนใจเรื่องราคา แต่ต้องการได้บ้านดีๆ จึงยอมจ่ายผู้รับเหมาสร้างบ้านในราคาที่สูงมาก

สภาพหลังการตอกเสาเข็ม

เสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐาน 
เสาเข็ม ม.อ.ก.

เช่น บ้านที่มีคุณภาพหลังหนึ่ง ใช้วัสดุดีมากๆ ราคาค่าก่อสร้างบ้านที่ควรจะเป็น คือ ตร.ม.ละ 16,000 บาท แต่มีผู้รับเหมา รับงานในราคาต่อตารางเมตร ที่สูงถึง 20,000 – 22,000 บาท ซึ่งเจ้าของบ้านก็ยอมจ่าย อย่างนี้ก็มีครับ

แต่พอไปสืบเสาะประวัติการทำงาน ผู้รับเหมาพวกนี้ มีประวัติการทำงานบ้านคนใหญ่คนโตทั้งนั้น มีแต่พวกไฮโซ..ไม่ใช่พวกไฮซ้อ-บ่จี๊นะครับ 

กรณีที่ 2. ราคาค่าก่อสร้างบ้าน ต่ำเกินไป

เจ้าของบ้านบางรายกดราคาผู้รับเหมาสุดๆ อย่างเช่นราคาว่าจ้างสร้างบ้านหลังหนึ่ง หากตีราคาภายใต้มาตรฐานของบ้านตามหลักวิชาช่าง ราคาค่าก่อสร้างที่ควรจะเป็นประมาณ ต.ร.ม.ละ 12,000 บาท

สังเกตที่ปลายสุดของจันทันเหล็กที่มีไม้ โผล่ออกมา ด้านซ้ายมือคืองานที่ไม่ได้มาตรฐาน

เบื้องต้นเจ้าของบ้านรายนี้ ให้ผู้รับเหมาเสนอราคาเข้ามา 3 ราย ปรากฏว่าราคาที่ผู้รับเหมาเสนอเข้ามาก็เกาะกลุ่มอยู่ แถวๆ 12,000 บาท แก่อ่อนกว่ากันตารางเมตรละ 200 -500 บาท

เจ้าของบ้านรับราคาที่ผู้รับเหมาทั้งสามรายเสนอมาไม่ได้ และมองโดยใช้ความรู้สึกของตนเองว่าราคาค่าก่อสร้างไม่น่าถึง ตร.ม.ละ 12,000 บาท และรู้สึกต่อไปว่า ราคา ตร.ม.ละ 11,000 บาท ก็น่าจะสร้างได้แล้ว

ทั้งยังได้ ไปหาผู้รับเหมารายที่ 4 ให้เข้ามาเสนอราคางาน ผู้รับเหมารายที่ 4 นี้เสนอราคามาที่ ตร.ม.ละ 11,500 บาท เจ้าของบ้านดูอาการแล้วเห็นว่าผู้รับเหมารายนี้อยากได้งานมากจึงได้ต่อรองผู้รับเหมา เหลือราคาค่าก่อสร้างตารางเมตรละ 10,500 บาท 

ภาพทั้งสองภาพนี้ เป็นเหล็กเสริมของเสาเอ็น
ด้านซ้ายมือ เอาเหล็กมาวางไว้เฉยๆไม่มีการเจาะเสาเพื่อเสียบเหล็ก
ส่วนภาพด้านขวามือ มีการเจาะเสาเพื่อเสียบเหล็ก ทั้งยังใช้น้ำยา อีพ๊อกซี่ช่วยประสานให้ติดแน่น

และยังขอเพิ่มเติมรายการ จากเดิมที่ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น เป็นก่ออิฐ 2 ชั้น เพื่อลบเหลี่ยมเสา และ ยังขอแถมมอบฝ้าไม้มะค่าทั้งหลังอีกด้วย ตามด้วย เปลี่ยนเกรดสีจาก ทีโอเอ โฟร์ซีซั่น เป็น ทีโอเอ ซุปเปอร์ชีลล์ (ราคาสีต่างกันเท่าตัว)

ปรากฎว่าผู้รับเหมา ยอมตามที่เจ้าของบ้านร้องขอ แต่มีข้อแม้ ว่าขอแบ่งงวดงานเอง และให้เจ้าของบ้านกันงวดสุดท้ายไว้ สัก 10 % ผลคือ ช่วงทำโครงสร้างเจ้าของบ้านต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 50 % ของราคาบ้าน และ การเทคอนกรีตโครงสร้าง ผู้รับเหมาขอใช้ปูนผสมโม่ แทนคอนกรีตผสมเสร็จ เจ้าของบ้านตกลง การเซ็นต์สัญญาว่าจ้างจึงเกิดขึ้น โดยผู้รับเหมารับเงินงวดแรก 15 % คิดเป็นเงินประมาณ 569,250 บาท

สรุปคือ เจ้าของบ้านรายนี้ สามารถต่อรองราคาผู้รับเหมา จากราคาที่ควรจะเป็นคือ 3,960,000 บาท ต่อรองราคาลงมาเหลือ 3,465,000 บาท เท่ากับประหยัดได้ ถึง 495,000 บาท มิหนำซ้ำยังได้เนื้องานเพิ่มติมอีก 3 รายการ คือ ก่ออิฐมอญจาก 1 ชั้นเป็น 2 ชั้น ได้มอบฝ้าไม้มะค่าทำสีธรรมชาติ และ เปลี่ยนสเปคสี จาก ทีโอเอโฟร์ซีซั่น เป็น ทีโอเอ ซุปเปอร์ชีลล์ ....

จากตัวอย่างที่ยกมานี่ สรุปว่าหลังจากผู้รับเหมา ทำงานโครงสร้างเสร็จเรียบร้อย และเก็บเงินทั้งหมดไป 50 % ของราคาว่าจ้าง อีกสามวันต่อมาเจ้าของบ้าน พยายามติดต่อทางโทรศัพท์มือถือกับผู้รับเหมา แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เอะใจไปดูที่หน่วยงาน ปรากฏว่าแม้แต่ที่พักคนงานก็ไม่เหลือ เหลือแต่ส้วมชั่วคราว กับโครงสร้างบ้านที่สร้างไว้เท่านั้น (เรื่องเล่าเรื่องนี้ขอพักไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะเสียประเด็นที่ตั้งใจจะเขียน)

- โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้า
สารบัญเรื่องน่ารู้ระหว่างการสร้างบ้าน

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com