ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

สร้างบ้าน..
ไม่ต้องการให้ผู้รับเหมาเอาเปรียบ
6

ลุงทอม

กุญแจดอกที่ 2 : ว่าจ้างในราคาที่เหมาะสมข้อตกลงในสัญญาไม่เสียเปรียบ

ก. ว่าจ้างในราคาที่เหมาะสม (ต่อจากหน้าที่แล้ว)

เลือกผู้รับเหมารายไหน มาจากลักษณะทางด้านจิตวิทยา ของผู้เลือกครับ

 

เจ้าของบ้านกลุ่มที่ 1

เป็นเจ้าของบ้านที่มีความต้องการที่จะได้บ้านดี ๆ ตามความเชื่อที่ว่าของถูกของดี ไม่มีในโลก ก็อาจจะเลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคาที่ 6.0 หรือ 6.2 หรือ 6.25 ล้านบาท เป็นเจ้าของบ้านที่น่าจะมี ลักษณะทางด้านจิตวิทยาดังนี้ครับ

] เป็นคนที่มีความภูมิใจในตัวเองสูง

] มีความคาดหวังอย่างแท้จริงที่จะได้บ้านที่มีคุณภาพจริงๆ สมราคาที่จ่าย

] ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ

] เป็นลักษณะของคนที่ถ้าจะซื้อรถใหม่ ก็คงจะซื้อรถยุโรปนั่นแหละครับ

เจ้าของบ้านกลุ่มที่ 2

เลือกผู้รับเหมา ที่เสนอราคาที่ 6.0 หรือ 5.6 ล้านบาท ลักษณะทางด้านจิตวิทยา ของผู้เลือก น่าจะเป็นดังนี้ครับ

] เป็นคนที่มีเหตุผลมากว่า เจ้าของบ้านกลุ่มที่ 1

] ต้องการได้บ้านที่มีคุณภาพจริงๆ

] ถ้าเป็นลักษณะของคนซื้อรถ ก็คงซื้อรถญี่ปุ่นระดับ คัมรี่ หรือ เทียน่า นั่นแหละครับ

เจ้าของบ้านกลุ่มที่ 3

เจ้าของบ้านกลุ่มที่ 3 เลือกผู้รับเหมาที่ เสนอราคาที่ 4.38 ล้านบาท ลักษณะทาง ด้านจิตวิทยา ของผู้เลือก น่าจะเป็นดังนี้ครับ

] เป็นคนที่มีความรอบคอบในการใช้เงินสูงมาก 

] เป็นคนที่ไม่ค่อยไว้ใจใครง่ายๆ

] หรือ บางคนอาจจะไม่มีลักษณะที่ว่าเลยก็ได้ แต่ไม่มีความรู้ในเรื่องการสร้างบ้าน 

มองไม่เห็นถึงความแตกต่างของผู้รับเหมาหลายๆรายที่เข้ามาเสนองาน จึงเลือก

ราคาต่ำ ไว้ก่อน (โธ่..ไม่มีใครอยากจ่ายแพงหรอกครับ)

บทความที่ผ่านมา ที่ผมพูดถึงอยู่บ่อยๆ คือ คำว่า ราคาค่าก่อสร้างที่แท้จริง ผมขอให้คำจำกัดความไว้ดังนี้นะครับ

ราคาค่าก่อสร้างที่แท้จริง คือ ราคาค่าจ้างสร้างบ้าน ที่เหมาะสม

คำว่าเหมาะสมนั้น หมายถึง 

ราคาวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม ในบีโอคิวต้องเสนอราคาวัสดุเป็นราคาเงินสด + ค่า ความเสี่ยงเรื่องวัสดุขี้นราคา (หากเสนอราคาวัสดุเป็นราคาเครดิต ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 7-10 % ของราคาเงินสด)

ปริมาณวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม ปริมาณวัสดุในบีโอคิวต้องเป็น ปริมาณวัสดุ ก่อสร้างที่ใช้จริง + ปริมาณวัสดุเผื่อตัดเศษ หรือ เผื่อความเสียหายในปริมาณที่เหมาะสม)

การโคลสราคาค่าแรงช่างในอัตราที่เหมาะสม (ค่าแรงช่างต่อหน่วย = ปริมาณงาน ที่ช่างทำได้ในหนึ่งวัน หารด้วย ค่าแรงช่างต่อวัน )

- โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้าสารบัญ
เรื่องน่ารู้เมื่อเตรียมการสร้างบ้าน

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com