ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

สร้างบ้านสักหลัง ว่าจ้างใครดี..?

 


โดย ลุงทอม

ปปรับปรุงเนื้อหา เมื่อ 2 ตุลาคม 2559

ตอนที่ 4.....จ้างสถาปนิกออกแบบบ้าน
ให้สถาปนิก..ช่วยว่าจ้างผู้รับเหมาให้ !

4

ข้อด้อย
กรณีจ้างสถาปนิกออกแบบ + สถาปนิกช่วยว่าจ้างผู้รับเหมาให้

1.อาจจะรู้สึกว่ายุ่งยาก
บางท่านอาจรู้สึกว่ายุ่งยาก ต้องใช้เวลา เสียเงินค่าแบบ และอาจคิดว่าไม่สะดวก

2.มีขั้นตอนมากกว่า ว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน
มีขั้นตอนทำงานมากขึ้น ต้องหาสถาปนิกมาออกแบบ และยังต้องหาผู้รับเหมามาประมูลงานสร้างบ้านอีก

3.อาจจะไม่ทันใจ สำหรับคนใจร้อน
ต้องใช้เวลา อาจไม่ทันใจ..สำหรับท่านที่ชอบความง่ายๆ ไม่เหมือนกับการเลือกแบบบ้านสำเร็จรูป แค่เลือกแบบบ้าน ตกลงราคา ก็สามารถลงมือก่อสร้างได้เลย

4. อาจมีปัญหาโครงสร้างโอเวอร์
แบบบ้านที่ว่าจ้างสถาปนิกอาจมีปัญหาเรื่องโครงสร้างโอเวอร์
ออกแบบโครงสร้างใหญ่เกินความจำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในส่วนที่มันโอเวอร์ (การออกแบบโครงสร้างที่ดี จะต้องมีทั้งความประหยัดและปลอดภัย การออกแบบโครงสร้างที่ไม่ดี คือ ปลอดภัยแต่ไม่ประหยัด)

ประสบการณ์ตรง..
จากผู้เขียน ในฐานะผู้ชำนาญการด้านการว่าจ้างสร้างบ้าน.!!

กรณีที่ 1
เอาแบบบ้านสองหลัง มาเทียบเคียงกัน ผู้เคยเคยเอาแบบบ้านสองหลังมาเทียบกัน ก.เป็นบ้านสูงสามชั้นทั้งสองหลัง
ข.มีระยะห่างระหว่างเสาใกล้เคียงกัน
ค.ความสูงที่เรียกว่า Floor to Floor ใกล้เคียงกัน ง. ไลฟ์โหลด เท่ากัน

ผลของการเปรียบเทียบ
บ้านหลังหนึ่ง ใช้เสาเข็ม "มากเป็นสองเท่า" ของบ้านอีกหลังหนึ่ง

กรณีที่ 2
แบบบ้านหลังเดียวกัน แต่วิศวกรออกแบบโครงสร้างคนละคนกัน

ภาพประกอบกรณีที่ 2

ภาพบน งานออกแบบโครงสร้างของวิศวกร คนที่ 1
แบบฐานรากบ้าน ใช้เสาเข็มสี่เหลียมขนาด 30 x 30 ซ.ม.
ถ้าดูจากรูปจะเห็นฐานรากที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่ ใช้เสาเข็ม 4 ต้น
สามเหลี่ยมใช้เสาเข็ม 3 ต้น ฐานรากที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เสาเข็ม 2 ต้น ที่เป็นสีเหลี่ยมจัตุรัสเล็กใช้เสาเข็ม 1 ต้น
เสาเข็มดังกล่าว ราคาต้นละ 12,000 บาท ค่าตอกต้นละ 2,000 บาท

 

แบบบ้านแบบเดียวกับรูปข้างบน แต่ให้ วิศวกรคนที่สอง ออกแบบให้ ปรากฎว่า ใช้เสาเข็มลดลงไปเยอะมาก เสาเข็มที่ใช้คือ ไอ 26 ราคาต้นละ 6,600 บาท ค่าตอกต้นละ 1,200บาท

บทสรุปสำหรับกรณีที่ 2
หน่วยงานในกรณีที่สอง มี 2 อาคาร
ได้เอาแบบก่อสร้างของวิศวกรคนที่ 1 มาคำนวนค่าเข็ม ราคาค่าเข็มรวมทั้งสิ้น 1,890,000 บาท
เอาแบบก่อสร้างของวิศวกรคนที่ 2 มาคำนวนค่าเข็ม ราคาค่าเข็มเหลือเพียง 790,000 บาท

ราคาค่าเข็มต่างกัน 1,100,000 บาท

นี่หล่ะครับ ผลของการออกแบบโครงสร้างโอเวอร์

5. แบบก่อสร้างไม่ละเอียด และยังคงมีปัญหาในเรื่องการเคลียร์แบบก่อสร้าง เพื่อการว่าจ้าง
ที่เห็นบ่อยๆ คือแบบก่อสร้างไม่ละเอียด รูปตัด รูปขยายไม่ครบ และยังเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเลือกวิธีก่อสร้างเองในบางจุด

แม้ว่าสถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบบ้านหลังนั้นๆก็ตาม ตอนส่งแบบก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไปตีราคานั้น พบว่ายังไม่มีการเคลียร์แบบ เคลียร์รายการวัสดุ เพื่อการว่าจ้าง

มีหลายจุดเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาเลือกวิธีการก่อสร้างเอง

และก็มีหลายวิธีการ ให้ผู้รับเหมาเลือกซะด้วย...
โดยแต่ละวิธีการนั้น มีต้นทุนในการก่อสร้างต่างกันและได้คุณภาพงานไม่เท่ากัน

ผลคือ..
การเปรียบเทียบราคาไม่สมบรูณ์
ทำให้การตัดสินใจว่าจ้างผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง ไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ
เพราะนำข้อมูลที่ไม่สมบรูณ์มาใช้ในการตัดสินใจ

อย่าคิดว่าแบบก่อสร้างที่ได้รับมาจากสถาปนิก จะละเอียดครบถ้วนและถูกต้องเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อผู้ว่าจ้าง จ้างสถาปนิกในราคาที่ถูกมากๆ

-โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป-

ต้องการดูทางเลือกอื่น ในการว่าจ้างสร้างบ้าน คลิกที่นี่

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา ฟรี

ไปหน้าสารบัญ
เรื่องน่ารู้ เมื่อเตรียมการสร้างบ้าน

 

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com