ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

แนวทางในการตรวจสอบ
คุณภาพงานสร้างบ้าน

 

น้าอารีย์

ในสภาพของดิน..
ที่ไม่สามรถแบกรับน้ำหนักได้มากๆ

เช่นสภาพที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล
จำเป็นต้องใช้เสาเข็มมาช่วยในการรับน้ำหนักตัวบ้าน

เสาเข็มตอก บางทีก็เรียกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของตัวบ้าน 

ควรทราบว่า...
เสาเข็มที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมกับไม่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม

ราคาต่างกันหลายบาท

อย่างขนาด ไอ 26 ราคาต่างกันประมาณ 700-800 บาทเชียวครับ

 

การตรวจสอบงานตอกเสาเข็ม

รายการตรวจสอบ

ประโยชน์ที่ได้

การตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม

ตรวจสอบว่าเสาเข็มนั้น มี ม.อ.ก. หรือไม่ โดยให้ผู้รับจ้าง นำเอกสารรับรอง ตรา ม.อ.ก. มาแสดง

 เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ท่านได้เสาเข็มที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

ตรวจสอบรายการคำนวณของเข็มตอก 

พร้อมวิศวกรเซ็นต์รับรองเข็ม 

เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดตัวแบบผิดปรกติ

ตรวจสอบเงื่อนไขการตอกเข็ม กำหนดด้วยความยาว   หรือ Blow Count

เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดตัวแบบผิดปรกติ

ตรวจสอบแผนงานการจัดลำดับขั้นตอนการตอกเข็ม และทางเดินปั้นจั่น

เพื่อป้องกันปัญหา หรือ ผลกระทบที่เกิดขึ้น

กับสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง

ตรวจสอบ ขนาด พื้นที่หน้าตัด  อายุของเข็ม  และ คุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่ (ตรวจทุกต้น)

เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดตัวแบบผิดปรกติ

ตรวจสอบ หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่

เพื่อให้เข็มตอกมีสภาพสมบรูณ์พร้อมที่จะใช้งาน

ตรวจสอบเสาเข็ม มีตรา ม.อ.ก. หรือไม่

เพื่อให้ได้เข็มตอกที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

ตรวจสอบ หัวเข็มตามแบบมี Dowel หรือไม่

เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่แบบก่อสร้างระบุไว้

ตรวจสอบ ความพร้อม - ปั้นจั่น และ การกองเข็ม

เพื่อให้งานได้มาตรฐานตามที่กำหนด

ซักซ้อมความเข้าใจกับผู้รับเหมา ก่อนลงมือทำงาน

เพื่อเน้นย้ำให้ผู้รับเหมาตระหนักถึงคุณภาพงาน ก่อนลงมือทำงานในจุดนั้นๆ

รายงานการสร้างบ้าน

เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านควรให้ช่าง หรือ คอนเซ้าท์ ทำรายงานการก่อสร้างบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นภาพ และลายลักษณ์อักษร  มาให้ท่านดูทางอินเทอร์เน็ท ในเว็บไซท์แห่งนี้

ดูตัวอย่างรายงานการสร้างบ้าน

เจ้าของบ้านจะได้ทราบความคืบหน้าในการสร้างบ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เจ้าของบ้านไม่สามารถไปดูงานสร้างบ้านได้ทุกวัน ด้วยการตรวจสอบรายงานการตรวจงาน ได้จากเว็บไซท์ของเรา

การตรวจสอบขณะทำการตอกเข็ม (ตรวจทุกต้น เข้าหน่วยงานทุกวัน)

ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ขณะนำเสาเข็มจ่อตรงหมุดที่จะตอก

เพื่อให้มั่นใจว่า เสาเข็มต้นนั้น ตอกตามจุดที่กำหนด และ เพื่อป้องกันเสาเข็มหนีศูนย์

ตรวจสอบ แนวดิ่งของเสาทั้ง 2 ด้าน ด้วยขาทราย

เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีการ เฉศูนย์

ตรวจสอบขณะการตอกเข็ม

ดูการทรุดตัวขอองเสาเข็มในขณะที่ตอกว่า ทรุดตัวผิดปรกติหรือไม่

ตรวจสอบการต่อเข็ม ในกรณีที่เข็มต่อด้วยการเชื่อม

เพื่อป้องกันรอยต่อหลุดในขณะที่ตอกเสาเข็มท่อนที่ 2

ตรวจสอบ ความลึกของเข็มที่จม

เพื่อให้งานได้มาตรฐานตามที่กำหนด

ตรวจสอบ Blow Count

เพื่อให้งานได้มาตรฐานตามที่กำหนด

 ตรวจสอบการลากเสาเข็มมายังจุดที่ตอก

เพื่อป้องกันเสาเข็ม แคร๊ก และ ดูว่ากระทบกับหมุดที่วางไว้เพื่อการตอกเข็มหรือไม่

รายงานการสร้างบ้าน

เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านควรให้ช่าง หรือ คอนเซ้าท์ ทำรายงานการก่อสร้างบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นภาพ และลายลักษณ์อักษร  มาให้ท่านดูทางอินเทอร์เน็ท ในเว็บไซท์แห่งนี้

ดูตัวอย่างรายงานการสร้างบ้าน

เจ้าของบ้านจะได้ทราบความคืบหน้าในการสร้างบ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เจ้าของบ้านไม่สามารถไปดูงานสร้างบ้านได้ทุกวัน ด้วยการตรวจสอบรายงานการตรวจงาน ได้จากเว็บไซท์ของเรา

การตรวจสอบหลังการตอกเข็ม

ตรวจสอบความถูกต้องของ จำนวนต้นที่ตอกและ ขนาดเสาเข็มที่ตอกไว้

เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยเฉพาะบ้านที่ใช้ 

เสาเข็มหลายขนาด  ซึ่งอาจมีการตอกผิดหลุมได้

รายงานการสร้างบ้าน

เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านควรให้ช่าง หรือ คอนเซ้าท์ ทำรายงานการก่อสร้างบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นภาพ และลายลักษณ์อักษร  มาให้ท่านดูทางอินเทอร์เน็ท ในเว็บไซท์แห่งนี้

ดูตัวอย่างรายงานการสร้างบ้าน

เจ้าของบ้านจะได้ทราบความคืบหน้าในการสร้างบ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เจ้าของบ้านไม่สามารถไปดูงานสร้างบ้านได้ทุกวัน ด้วยการตรวจสอบรายงานการตรวจงาน ได้จากเว็บไซท์ของเรา

 

คำอธิบายภาพ

ภาพบนซ้าย 
สภาพเสาเข็มแบบนี้ ต้อง Reject ครับ

ภาพบนขวา 
แสดงการต่อเสาเข็ม ด้วยวิธีการเชื่อม ซึ่งก่อนจะให้ตอกต่อไปจะต้อง ตรวจสอบให้มั่นใจว่า รอยเชื่อมสมบูรณ์พอ

ภาพล่างซ้าย
เมื่อนำเสาเข็มมาตั้งตรงหมุดที่จะตอกแล้ว ตรงนี้ต้องดูให้ดีๆครับ หนีศูนย์หรือไม่อยู่ตรงนี้ ในภาพช่างใช้วิธีการวัดด้วยไม้วัดที่ทำเครื่องหมายไว้ ทั้ง 2 ด้าน

ภาพล่างขวา
หลังจากตั้งเสาเข็มลงบนหมุดที่จะตอกตรงแล้ว ต้องมาเช็คเสาเข็มในแนวดิ่งอีกทีครับว่า เอียงหรือไม่ ด้วยวิธีการเล็งจาก ขาทรายทั้ง 2 ด้าน

รับชม หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มตรวจสอบงานสร้างบ้าน

-โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้า
สารบัญแนวทางในการตรวจงานสร้างบ้าน

 

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com