ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

การออกแบบบ้าน-อาคาร
ที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม

ที่มา ..เอกสารเผยแพร่ชุด สาระน่ารู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลัง งานแห่งชาติ 
ผู้เขียน.. จินดา แก้วเขียว และ คณะ รวบรวมโดย ศูนย์อนุรักษ์ พลังงานแห่งประเทศไทย

หน้าต่างและกันสาด
3

ชนิดของหน้าต่าง

หน้าต่างที่นำมาใช้ประกอบตัวอาคาร บ้านพักอาศัย สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ 2 ชนิดหลักๆ คือไม้และกระจก

หน้าต่างไม้

มักจะใช้กับบ้านพักอาศัยที่เป็นไม้ (บ้านทรงไทย) หรือใช้ตามโรงเรียน หน้าต่างชนิดนี้ใช้เป็นช่องลม ในการถ่ายเทอากาศ มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเข้ามาภายในตัวบ้าน อาคารได้ดีกว่า หน้าต่างกระจก แต่ไม่เหมาะสมกับอาคารหรือบ้านพักอาศัยที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ เพราะจะทำให้ ไม่สามารถเห็นทัศนียภาพนอกได้ เนื่องจากต้องปิดไว้ตลอดเวลา

 

หน้าต่างกระจก

หน้าต่างกระจกเป็นหน้าต่างที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในบ้านพักอาศัยและอาคาร เนื่องจากทำให้เห็นทัศนียภาพภายนอก บ้านพักอาศัยและอาคารสามารถติดตั้งง่าย รวดเร็ว และสะดวกกว่าการก่อผนังทึบด้วยคอนกรีต

ดังนั้นจึงมีการพัฒนาหน้าต่างกระจก
ให้มีความสวยงามและพัฒนากระจกที่ใช้ทำหน้าต่างให้มีคุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงาน คือป้องกันความร้อนได้ดีและยอมให้แสงผ่านเข้าได้มาก

แต่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยที่ปลูกสร้างด้วยไม้
ถ้าติดตั้งหน้าต่างกระจกจะต้องแน่ใจว่าบ้านไม่มีรอยรั่วของอากาศ เพราะถ้าเปิดเครื่องปรับอากาศความเย็นที่ได้จากการปรับอากาศจะรั่วซึมออกมาภายนอก เครื่องปรับอากาศจึงต้องทำงานมากกว่าเดิมทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามาก ดังนั้นในกรณีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้หน้าต่างกระจกทีมีคุณภาพดีก็ไม่ได้ช่วยอนุรักษ์พลังงานแต่อย่างไร

 

 

หน้าต่างกระจกจัดว่าเป็นหน้าต่างที่ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์และความร้อนจากภายนอกอาคาร เข้าสู่ภายในอาคารได้มากที่สุดทางหนึ่ง

กล่าวคือ ถึงแม้ว่าอาคารมีพื้นที่กระจกเพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารทั้งหมด แต่พื้นที่กระจกเหล่านี้ จะมีการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 75  ของความร้อนภายในอาคารทั้งหมด 
ทั้งนี้เนื่องจากความร้อนผ่านกระจกหน้าต่างได้โดยทั้งวิธีการนำความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน ผ่านผนังทึบโดยวิธีการนำความร้อนเท่านั้น

กระจกที่สามารถ..ป้องกันความร้อนได้ดี 

กระจกสะท้อนความร้อน (Heat Mirror)

มีคุณสมบัติคล้ายกระจกเงา..
ทำหน้าที่สะท้อน รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์ได้ประมาณร้อนละ 60
โดยคุณสมบัติในการสะท้อนจะมากกว่าการดูดกลืน
 และ
มีสีหลากหลายแปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวันและฤดูกาล เป็นการสร้างชีวิตชีวาให้กับตัวอาคาร

กระจกชนิดนี้เหมาะสำหรับอาคารที่ใช้งานตอนกลางวัน  เช่น..อาคารสำนักงาน
 เนื่องจากคุณสมบัติการสะท้อนแสงจึงทำให้บุคคลภายนอกที่อยู่ในด้านสว่างกว่ามองเห็นภาพในอาคารไม่ชัดเจน จึงช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อาศัยภายในอาคาร
แต่ในตอนกลางคืนแสงที่เกิดขึ้นภายในอาคารจากหลอดแสงสว่าง  จะทำให้ผู้คนภายนอกสามารถเห็นผู้คนที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจน
ซึ่งในกรณีหลังนี้จะเหมาะสำหรับอาคารธุรกิจบางประเภทเช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร

กระจก 2 ชั้น (Low Emittance Glass)

มีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนต่ำ กระจกชนิดนี้จะเป็นตัวป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์

กระจกอัจฉริยะ (Smart Glass)

มีสารเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติพิเศษ..
ในการตอบสนองต่อแสงที่ตกกระทบ โดยสามารถควบคุมความยาวคลื่นแสงที่ต้องการให้ผ่านกระจกได้ เช่น..ให้แสงที่มีความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้ผ่านเข้ามาเท่านั้น

 

สำหรับกระจกใสซึ่งนิยมใช้กันในอาคารเก่า..
ความร้อนจากภายนอกจะผ่านทะลุเข้าตัวอาคารได้มาก (ร้อยละ 83) แต่มีแสงสว่างที่ตามองเห็น
ทะลุผ่านสูง (ร้อยละ 88)

ดังนั้นกระจกใส..
จะให้แสงสว่างเข้ามามาก แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีปริมาณความร้อนผ่านเข้ามามากด้วย

ดังนั้นวิธีป้องกันความร้อนที่ผ่าน กระ จกใส คือ ติดฟิล์มกรองแสงที่ผิวกระจกด้านในซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้สูงถึงร้อยละ 72

 

-โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

กลับไปหน้าสารบัญ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบบ้าน แปลนบ้าน แบบก่อสร้าง

 

ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com