ตลาดซื้อขายบริการรับสร้างบ้าน เพื่อการ..ว่าจ้างสร้างบ้าน..แบบ วิน วิน

 

ประสบการณ์สร้างบ้าน
เรื่องจริงผ่านเน็ท โดยเจ้าของบ้าน

 

มุมมองของ ซีเล็คคอน เสริมตอนที่ 38 ของหมอโจ
ลงมือทำงาน -การทำฐานรากบ้าน

โดย ลุงทอม

สวัสดีครับ วันนี้ลุงทอมมาเข้าเวร นำเสนอเรื่องน่ารู้..
ในช่วงเริ่มต้นทำงานของผู้รับเหมา กันนะครับ

บทความนี้จะเป็นบทความเสริม บทความของหมอโจ 
ซึ่งหมอโจ จะนำเสนอในมุมมองของเจ้าของบ้าน
แต่ลุงทอมจะนำเสนอในมุมมองของ ผู้ควบคุมงานฝ่ายผู้ว่าจ้าง ครับ

ตอนนี้ บ้านของหมอโจ เริ่มลงมือแล้วนะครับ

ที่พักคนงาน หมู่บ้านกำหนดให้พักได้ 3 คน

เปิดหน้างานกันซะที..

ในส่วนของการวางผังและทำเสาเข็มเจาะ ไม่ได้นำมาเสนอบทความในตอนนี้นะครับ
ข้ามมาเริ่มตอนที่จะทำฐานรากกันเลย

ในช่วงแรกของการทำงานของผู้รับเหมา
ส่วนใหญ่จะยังไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง ก็เป็นอย่างนี้เกือบทุกที่แหละครับ

ในช่วงนี้ ผู้รับเหมาจะต้องเตรียมคนที่จะเข้ามาทำงาน 
ซึ่งคนงานจะเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับจังหวะงานของผู้รับเหมาในช่วงนั้นๆด้วย
ว่าติดงานที่อื่นอยู่หรือไม่ หรือได้เตรียมหาคนงานเอาไว้หรือเปล่า

ซึ่งในส่วนของการจัดหาคนงานนี้ เป็นเรื่องของศักยภาพของผู้รับเหมาโดยตรงเลยทีเดียว 

คนงานก่อสร้างทั่วๆไป เวลาที่พิจารณาว่า จะไปทำงานกับผู้รับเหมารายไหน
จะดูว่า ผู้รับเหมารายนั้นเงินดีหรือไม่ จ่ายเงินค่าแรงตรงตามกำหนดไหม 
พวกหมู่ของคนงานไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง ก็จะตามๆกันไป

คนงานที่จะเข้ามาทำงานในช่วงนี้ จะเป็นคนงานที่ทำงานเกี่ยวกับโครงสร้างครับ
ประกอบไปด้วย หัวหน้าคนงาน หรือ ที่เรียกกันว่า “เฮดแมน” 
ช่างไม้สำหรับเข้าแบบหล่อคอนกรีต  ช่างเหล็ก สำหรับงานเดินเหล็กผูกเหล็ก
กรรมกร สำหรับทำงานทั่วๆไป

ในระหว่างการขุดดินด้วยรถแมคโครขนาดเล็ก
คนงานบางส่วนจะทำการผูกเหล็กเตรียมไว้ใช้ในงานฐานราก

วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ทยอยส่งเข้าหน่วยงาน

ในการทำงานจริงๆนั้น ช่าง 1 คน จะทำงานหลายหน้าที่ 
เช่น ช่างไม้อาจจะต้องมาผูกเหล็กดัดเหล็ก ถ้างานช่วงนั้นๆ
ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเข้าแบบหล่อคอนกรีต

หรือ ช่างเหล็ก อาจจะต้องมาขุดดิน เพราะช่วงเวลานั้นที่หน้างานยังไม่มีงานเหล็กทำ

การจะใช้ใครทำอะไร ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการหน้างานครับ
ว่าใครจะจัดการได้ดีกว่ากัน เพราะเกี่ยวเนื่องกับต้นทุนงานก่อสร้างโดยตรง

ช่วงเกษตรกรรมนี่ ก็มีผลกับปริมาณคนงานนะครับ
เช่นหน้าดำนา เกี่ยวข้าว ตัดอ้อย เป็นต้น

เพราะช่วงนี้คนงานจะหลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้าน
ทำให้หน้างานส่วนใหญ่เหลือปริมาณคนงานที่ทำงาน
ในช่วงเกษตรกรรมนี้ในแต่ละไซท์ไม่มากเท่าที่ควร

นอกจากคนงานแล้ว จะต้องมี ผู้ควบคุมงาน หรือ โฟร์แมน
ที่จะต้องเข้ามาควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด 

วิศวกร ที่ต้องควบคุมการทำงานเป็นระยะๆ
อย่างของผู้รับเหมา สร้างบ้านของหมอโจ นี่ 
วิศวกรเข้ามาดูงาน โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครับ..

ในช่วงแรกของการทำงาน สิ่งที่ต้องทำแรกๆเลยก็คือ... 
ที่พักคนงาน และที่เก็บวัสดุ

แต่เนื่องจากบ้านของหมอโจปลูกกินพื้นที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ 100 ตารางวา
ทำให้หน้างานออกจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้...

-โปรดอ่านต่อหน้าถัดไป -

 

หากมีข้อสงสัย
ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างผู้รับเหมา
และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน ปรึกษาได้ฟรีครับ
โดยคลิกที่ไอคอนข้างล่างนี้

ไปหน้า..สารบัญเรื่องจริงผ่านเน็ท
ประสบการณ์สร้างบ้านของเจ้าของบ้าน


ค้นข้อมูล ในซีเล็คคอน

14-2-2560-S

สงวนลิขสิทธิ์ © โดยทีมงาน selectcon.com